ไม่มีหมวดหมู่

วิเคราะห์เพลง “คงคา” โดย เอวารินทร์(Evalia Ch.【ARP】) ตามแบบฉบับเด็กศิลป์ดนตรี

วันนี้อาจจะมาแปลกหน่อยเพราะว่าวันนี้ผม ผู้เขียนบทความนี้ที่จริงๆแล้วเคยเป็นเด็กศิลป์ดนตรีมาก่อนจะได้นำเอาความรู้ทางทฤษฏีดนตรีทางแจ๊สที่เรียนมา(ซึ่งอาจจะได้มาจากโรงเรียนไม่เยอะ)มาวิเคราห์กันแบบตรงไปตรงมาว่าทำไมเพลงนี้ถึงเหมาะที่จะมาใช้ศึกษาทฤษฏีดนตรีกัน แต่หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้

ปล.คนเขียนบทความนี้ไม่ได้เรียนไทยมาเลยดังนั้นขอไม่พูดถึงเนื้อร้องหรือฝั่งดนตรีไทย

intro(bookend)

(bookend เป็นเทคนิกในการแต่งเพลงที่จะให้ intro และ outro เป็นท่อนเดียวกันไม่ว่าจะมีทั้งเนื้อร้องและเครื่องดนตรี มีแต่เครื่องดนตรี หรือมีแต่เนื้อร้อง)

เริ่มแรก เราจะได้ยินเครื่องเคาะจังหวะของไทยเครื่องนึงนำเคาะจังหวะมาเป็นโน็ตตัวกลมเพื่อให้เราได้ชินกับความเร็วของเพลงก่อน(tempo)  ซึ่งจะเป็นการ Cresendo เข้าท่อน A(0:00-0:05)

เมื่อมีเนื้อร้องจะสังเกตุได้ว่า subdivision นั้นไม่ใช่ 8th note เหมือนกัยเพลงส่วนใหญ่แต่เป็น 16th note ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็น funk มากกว่าความเป็น pop ซึ่งไม่ค่องปกติในเพลงแนวนี้(0:06-0:20)

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ subdivision แบบ 16th note uptown funk – mark ronson

บรรไดเสียงที่ถูกใช้จะเป็น major pentatonic ซึ่งให้ความรู้สึกแบบเดียวกับเพลงไทยและจีนโบราณ และ gospel แบบอ้อมๆ(เพราะ major pentatonic นั้นไม่มี b3 เหมือน major blue scale)

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ major pentatonic https://www.youtube.com/watch?v=yu4eRjbx26k

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ major pentatonic เหมือนกันแต่ไม่ไทยมากเท่า https://www.youtube.com/watch?v=gLusgvdrun4&list=PLE9BhIOUz_PdqGMfSt8fwzKhIWppVvQjP&index=30

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ major blue(มีความเป็น gospel มากกว่า) lift every voice and sing – ray charles

เกร็ดความรู้ : กู่เจิ้งนั้นมี โน้ตที่อยู่บนสายแค่ 5 ตัว(แต่มีหลาย octave) ได้แก่ C D E G A หรือก็คือ C major pentatonic นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราอยากจะทำตัวดูเหมือนเล่นเครื่องนี้เป็น เพียงแค่เราให้คนที่เล่น ทำนองหลัก(dizi, erhu หรืออะไรก็ชั่ง) เล่นอะไรก็ตามที่อยู่ในโหมด ionian หรือเสกล c major แค่นี้ไม่ว่าเราจะเล่นอะไรบนกู่เจิ้งมันก็จะไม่ฟังดูกัดทั้งนั้น

ในขณะที่เครื่องคอร์ดนั้นกำลังเล่น broken chord เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินคอร์ดอยู่นั้นการเพิ่มเครื่องดนตรีหลังจากที่มีเนื้อร้องนั้นเครื่องที่ไม่ใช่เครื่องคอร์ดในเพลงจะเริ่มมีความเป็นทำนองและเป็นเป็นแนวนอนมากกว่าจะเป็นแนวตั้งหรือเป็นแนวนอน(เล่นโน้ตในคอร์ดหรือ arpeggio เยอะๆ) ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็น cool jazz และ chamber music แต่ยังไม่คิดเป็น mode เท่ากับดนตรี modal

ตังอย่างเพลงที่ใช้เครื่องโซโล่ช่วยเล่นทำนอง(ไม่มีเครื่องคอร์ด) Walkin’ Shoes – Gerry Mulligan

ตังอย่างเพลงที่ใช้เครื่องโซโล่ช่วยเล่นทำนองแต่มีเครื่องคอร์ด(ใกล้เคียงกับ คงคา มากกว่า) alone together – chet baker

ก่อนเข้าท่อน instrument จะพบว่ามีการใช้เสียงลมช่วยเพิ่ม tension ให้กับเพลงและทำ cresendo ให้กับ intro อีกด้วย

 

instrumental(0:21-0:48)

มีการใช้คอร์ด diminished ในการเพิ่ม tension ให้กับเพลงซึ่งไม่ปกติในเพลง pop(เพราะปกติแล้วมักจะใช้เสียงที่สว่างกว่านี้(major/major#11)และเพื่ม dynamic แทน)

การใช้ percussion ในช่วงนี้นั้นจะมีการเล่นบางเครื่องให้เป็นตัวกลมแล้วแบ่งบางเครื่องไปเล่น subdivision (ซึ่งในตอนนี้นั้นเป็น 16th note)

 

A-B part/verse-pre chorus( 0:48-1:57)

subdivision ยังคงเป็น 16th note อยู่

เรื่อมมีการขยายบรรไดเสียงที่ใช้จาก major pentatonic เป็น heptatonic ซึ่งมีการใช้ relative mode มากขึ้นโดยจะมีการหมุนให้มืดลงเรื่อยๆ แล้วก็จะเริ่มมีการใช้ chromatic note เพื่อเพื่ม tension ให้กับอารมณ์เพลงที่กัมลังมืดลง

วิธีไล่จากโหมดสว่างไปมืด https://web.facebook.com/th.jazzjae/posts/4108741445862889(อันนี้ไม่ใช้ relative นะ)

 

C part/chorus(1:58-2:25)

มีการใช้เสียงสวดมนต์สร้าง pedal point/drone ในขณะที่เครื่องเป่าข้างบนเล่นทำนองและเสียงประสานนั้นจะต้องเปลี่ยนให้ไม่กัดกับ drone ที่กำลังสวดอยู่ซึ่งใกล้เคียงกับดนตรี modal ในแบบของ contrane

ตัวอย่างเพลงที่มีการใช้ pedal point/drone ที่โน้ตตัวเดียว my favorite thing – coltrane

ตัวอย่างเพลงที่มีการใช้ pedal point/drone ที่เน้น ostinato มากขึ้น(ใกล้เคียงกับ คงคา มากกว่า)  acknowleagement – coltrane

เสียงประสานจะเริ่มใช้การเรียบเรียงแบบ close voicing มากขึ้น

D part(2:25 – 2:51)

เริ่มมีการใช้ คอร์ด ที่สลับกลับไปกลับมาระหว่าง diatonic chord(Am) เพื่อใช้ relative mode ที่มืดกว่า(จาก ionian เป็น aeolian หรือมองอีกมุมนึงก็คือ เปลี่ยน key center จาก C ไป A แล้วเปลี่ยนโหมดให้มืดลง) และ non-diatonic chord(G#) เพื่อสร้างเสียงที่อึดอัดกว่าเพราะว่าโน้ต G# กับ D# นั้นไม่ได้อยู่ในคีย์ C major(หรือ A minor ในตอนนี้) และ หากมองให้ A เป็นโน้ตตัวแรกของคีย์แล้ว(A minor ในตอนนี้) G# ก็จะเป็น โน้ตที่โดดเด่นมากของเสกล A harmonic minor(aeolian ที่ไม่ติด b7) และจาก c ไป D# ที่ถ้ามองทาง # จะห่างกัน 2nd augmented นั้นหากมองว่าเป็นทาง b, C กับ Eb จะห่างกัน minor 3rd ซึ่งก็จะช่วยสร้าง tension ได้อีกทาง

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ทางเดินคอร์ดแบบ diatonic ไปหา non-diatonic สลับไปสลับมา a night in tunisia (ในช่วง intro)

 

2:52-3:24(หลังจากนี้ไม่ได้นั่งจำละว่าท่อนไหน)

มีการใช้วิธีเล่าเรื่องแบบ recitative (พูดไปเครื่องก็เล่นไป) วึ่งพบได้บ่อยในโอเปร่า

มีการเล่นกับโหมดแบบ miles modal(เปลี่ยนคีย์น้อยมาก-ไม่เปลี่ยนเลย)

ตัวอย่างเพลงที่ใช้การเล่นกับโหมดแบบ miles so what 

มีการใช้ riff เดิมเล่นวนซ้ำไปซ้ำมาในขณะที่นักร้องกำลังพูดอยู่เหมือนกับ kansus city jazz ซึ่งใช้ riff เดิมเล่นซ่้ไปซ้ำมาในขณะที่คอร์ดเปลี่ยน(แต่ใน คงคา จะไม่เปลี่ยนคอร์ด)

ตัวอย่างเพลงที่ใช้ riff เดิมซ้ำไปมา one o’clock jump

 

3:25-3:51

เสียงสวดในรอบนี้ไม่ได้เป็น pedal point  หรือ drone ที่เป็น ostinato แล้วแต่เป็นทำนองหลักแทนในขณะที่

key center ถูก modulate ไปทันที 2 semitone(จาก A minor เป็น B minor)

ยังมีการเล่นกับโน้ตที่ยังอยู่กับที่ที่ก่อนหน้านี้เป็น C แต่ในตอนนี้เป็น D แทน(B minor = B+”D”+F# ในขณะที่ Bb = Bb+”D”+F ) และใช่ ทางเดินคอร์ดยังเป็นเหมือนกับ D part แต่เปลี่ยนคีย์

 

3:52-4:48

จาก subdivision ที่เป็น 16th note ก่อนหน้าตอนนี้กลับมาเป็น 8th note แล้ว

4:49-4:25

piano cadenza ตรงนี้เพราะดี…ไม่เกี่ยว 🙁

4:26-4:59

subdivision ที่เป็น 8th note ตอนนี้กลับมาเป็น 16th note แล้ว

5:00-5:03

ดัน reverb ขึ้นก่อนจะสั่งหยุดแล้วปล่อยทุกเครื่องเงียบ เสียงประสานที่ถูกเล่นค้างไว้(C# ของ A major chord ซึ่งถือเป็นโน้ตนอกเสกล) จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกับสิ่งที่บอกผู้ฟังว่ามันยังไม่จบ

5:04-จบ

เป็น cadenza ที่ให้นักร้องร้อง bookend อีกครั้งแต่ครั้งนี้ผู้แต่งใช้ความเงียบของการไม่มีเสียงประสานสร้างแรงกดดันให้มากขึ้น

modulate คีย์สูงขึ้นจากตอนที่เป็น intro 1 semitone แล้วลด tempo ลง แต่ไม่ได้ร้องเป็น rubato(สังเกตุได้จากการที่เครื่องเคาะจังหวะในท่อนนี้นั้นยังเคาะที่ tempo เดิม)

 

และเมื่อนึกถึงอะไรไทยๆอย่างนี้เราขอเสนอ…เลื่อนลงสิ

หากดวงใจนี้ยังต้องคำสาปนั้น
ฝันที่ครวญรำพันก็ยัง คงคา

สายนทีแห่งชีวีนี้ช่างวิกล
ฉันคอยปัดเป่าผู้คน จักพ้นจากทรมาน
แต่ฉันเอง กลับอ้างว้างผ่านมาชั่วกาล
ดวงใจนี้ยังสะท้าน อีกนานต่อไปเท่าไร

อีกหนึ่งปรารถนา ที่เกินจะไขว่คว้า
ได้เพียงจมอยู่ใต้ธารา

อาบชโลมวิญญาณ ชะล้างมลทินเหล่านั้นให้อันตรธาน
หลุดพ้นวัฏสงสาร ไม่ว่าจะดีจะร้ายเท่าไร
หากเป็นฉันที่ยังต้องทน ชดใช้บ่วงกรรมตราบจนเมื่อใด
จากนี้จะขอได้ไหม จะทำในสิ่งที่ยัง คงคา

มาจะกล่าวบทไป ถึงความช้ำในดวงดารา
โอย เหล่าวิญญาที่ช่างโสภา หากต้องใช้มนตราเพื่อล่อลวงสะกด
เสียงจากในแสงชวาลา หน่วงเจ้าเอาไว้อยู่ในอาคม
โอย อยากได้ อยากจะเชยชม เก็บไว้ดอมดมจนเจ้าสิ้นกลิ่น

อันสมดุล แดนไตร ไซร้ต้องห้าม
มาปั่นป่วน ยุ่มย่าม จนฉิบหาย
ใช้อำนาจ โดยมิชอบ จนวอดวาย
เพียงเพื่อได้ เสพย์สม รมย์กามา

มันผู้ใด กล้าดี อยากลองของ
หวังนึกครอง ดวงวิญญา นั่นคนบ้า
ปิดผนึก ไฟราคะ ไฟตัณหา
กลับลงสู่ ใต้คงคา ชั่วนิรันดร์

สุดเสียงบัญชาสวรรค์ลงทัณฑ์ สลายสิ้นไป
ดวงใจเอ๋ย ใจถูกซ้ำย่ำยีและโยนทิ้ง
วิงวอนขอแค่ความรัก กลับย้อนมาถูกกัดกินหัวใจ
สถิตอยู่ท่ามกลางอันธการ

หุ่นแม่มณี คงคา
หุ่นแม่มณี…ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ คงคา
หุ่นแม่มณี คงคา
หุ่นแม่มณี…ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ คงคา เหมือนกัน

ไม่ๆๆๆ ไม่ใช่อันนี้ เลื่อนลงอีก

Evalia วีทูเบอร์ผีสาวสวยจากสังกัด Algorhythm Project
ปล่อยผลงาน Original Song “คงคา (Endless Echo)

เอวารินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งสายน้ำ
มาจาการการสนธิคำ เอก+วารินทร์ ตัด ก ออกไปเป็น เอวารินทร์
เอก = เป็นใหญ่ เป็นหนึ่ง
วารินทร์ = น้ำ สายน้ำ

ในเนื้อเรื่องของเพลง เอวารินทร์ น่าจะเป็นเทพีแห่งสายน้ำคอบปัดเป่าความทุกข์ของผู้คน คอยนำวิญญาณไปต่างภพ แต่หลงผิด ทำให้เหล่าผู้คนจมน้ำ และนำวิญญาณชายหนุ่มมาเป็นบริวาร เพราะความที่อยู่โดดเดี่ยวมานาน

เมื่อดว งวิญญาณ ที่ เสีย ชีวิต ทุกเหนี่ยวรั้งและไม่ไปสู้ภพที่ควร เดือดร้อนจนท้าวเวสุวรรณ จะต้องมาปราบ
[center]
[/center]ในเนื้อเพลงจะมีคำบทสวดนี้ครับเป็นคาถาของพระพาย เทพแห่งสายลม
[left]โอม อัคคี คงคานัง วาโย อาโป ธรณี นะมะพะทะ[/left][left]ทุติยัมปิ อัคคี คงคานัง วาโย อาโป ธรณี นะมะพะทะ[/left]ตะติยัมปิ อัคคี คงคานัง วาโย อาโป ธรณี นะมะพะทะ ฯ 

เป็นคาถาช่วยปกป้องคุ้มครองรักษาให้เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัยจากน้ำ ลม พายุ ไฟ ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นี่เลย!!! ต้องหุ่นแม่มณีจากทางเรา
นี่เลย!!! ต้องหุ่นแม่มณีจากทางเรา ใช่ไหม B2
นี่เลย!!! ต้องหุ่นแม่มณีจากทางเรา
ใช่แล้ว B1 ต้องหุ่นแม่มณีจากทางเรา

ต่อจากนี้ บทเพลงของฉันที่ยังขับขานใต้สายศิลา
จะยังกังวานประสานกับสายน้ำตา ฉันแทบขาดใจ
อยากวิงวอนให้เสียงคร่ำครวญรำพึงเหล่านั้นล่องลอยออกไป
จะขอสักคนได้ไหม พบเจอฉันทีได้ไหม
ปลดปล่อยฉันไปจากคำสาปร้าย

หากดวงใจนี้ยังต้องคำสาปนั้น
ฝันที่ครวญรำพันก็ยัง คงคา