การตรวจงานปั้น หุ่นไฟเบอร์กลาส
การตรวจงาน ไฟเบอร์กลาส
หลังงจากผ่านการสร้างหุ่นไฟเบอร์กลาสไปหลายวัน(กี่วันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน) ลูกค้าต้องตรวจแบบครับ ต้องตรวจที่ขั้นตอนนี้น๊ะครับ สำคัญมาก เพราะนี่คือจุด”กู่ไม่กลับ”
แล้ว บางคนส่งรูปให้ดูก็ดูแค่ว่างานทำถึงไหนแล้ว ซึ่งมันไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แค่อยากรู้อยากเห็น ไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ ควรจะดูว่างานเป็นยังไง
เหมือนแบบไม๊ ให้ดูจากเล็กไปใหญ่ อย่างเช่น รูปร่าง ขนาด สัดส่วน แล้วดูลงรายละเอียดไปเรื่อยๆ บางคนก็ดูแต่รายละเอียดเลย ไม่ดูจุดใหญ่ก่อน ปรากฏว่า
มาเห็นทีหลัง ก็สายไปแล้ว กรรมหนักตกเป็นของช่างปั้นครับ ต้องมาแก้ให้ ซึ่งต้องเรียกว่า “รื้องาน” กันเลยทีเดียวเชียว
ยังมีอีกนิดครับ ไม่ได้ตำหนิอะไรน๊ะครับ แค่จะ ปรับทัศนคติ นิดหน่อย งานปั้น งานปฏิมากรรม งานศิลปะ เป็นงานที่ต้องใช้อารมณ์ ไม่ใช่หมายถึง อารมณ์
รัก โลภ โกรธ หลง น๊ะครับ คนละอย่าง หมายถึงอารมณ์งานหน่ะครับ ประมาณว่า เรามองปุ๊ป แล้วรู้สึกว่า มัน ใช่ ไม่ใช่ ประมาณนี้รึเปล่า อะไรเนี่ยแหล่ะครับ
แล้วค่อยดูความเรียบร้อยความเนี๊ยบ เส้นสาย ต่างๆ
แต่บางคนดูงานศิลปะ แบบงานก่อสร้าง งานเฟอร์นิเจอร์ซึ่ง มีสัดส่วน ขนาด ด้านต่างๆเป๊ะๆตามแบบ งานพวกนั้นเป็นงานทรงเรขาคณิต ก็ต้องตรวจแบบนั้น
ก็ถูกแล้ว แต่งานศิลปะ ไม่มีแบบแน่นอนเป๊ะๆ ก็แหงหล่ะครับ ใครจะสามารถไปวัดสัดส่วนให้ได้ละเอียดยิบๆทุกเส้นสาย ความโค้งเว้า ต่างๆ แม้แต่คนวาดแบบเอง
ก็เหอะ มีครับแบบเอาตลับเมตรมาวัดกันเลยทีเดียว ขนาดตา ขนาดเขา ปาก แขนขายาวได้ไม๊ จุดนี้ห่างจากจุดนี้เท่าแบบรึเปล่า บางทีแบบที่เค๊าวาดมา เค๊าก็ไม่ได้วาด
ตรงๆน๊ะคับ เค๊าก็มีลีลาในการวาด อาจจะเอียงๆ เฉียงๆ เล่นมุมกล้อง เล่นแสงเงาบ้าง อย่าไปยึดติดตามนั้นครับ จะหลงทางเอา
ยังมีอีก เรื่องการตรวจงานผ่านรูปถ่ายอีก บางคนไม่เข้าใจเรื่องมุมกล้อง เลนส์ แสงเงา ระยะถ่าย ว่าทุกอย่างมีผลกระทบกับภาพที่ออกมาหมด อาจทำให้หัวเล็ก ขายาว
กว่าความเป็นจริงได้ การตรวจงานผ่านรูปถ่ายยังมีเรื่องของสีอีกที่ยังไม่เข้าใจ แต่ไม่ใช่ขั้นตอนนี้ครับ
ตัวเอียง กว่าความเป็นจริง อันนี้ถ้าจะให้อธิบายก็ยาวแน่ๆ เอาไว้โอกาศหน้าจะมาอธิบายแบบละเอียดอีกที ต้องมีการพิสูจน์ด้วยรูปให้เห็นด้วยครับ